ผู้ลงทุน

ข้อมูลหลักทรัพย์

กราฟภาพรวมตลาด

ราคาหลักทรัพย์

ประกาศ

การเปิดโอกาสผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุม ส่งคำถาม และเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าเป็นกรรมการบริษัท เป็นการล่วงหน้าสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568

1. ขอเรียนเชิญผู้ถือหุ้นเสนอระเบียบวาระการประชุม ส่งคำถาม และเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้าเป็นกรรมการบริษัท เป็นการล่วงหน้าสำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 (คลิก)

2. หลักเกณฑ์การให้สิทธิผู้ถือหุ้นเสนอวาระการประชุมและเสนอชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ สําหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจําปี 2568 (คลิก)

3. ระเบียบปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการส่งคำถาม เสนอวาระการประชุม และเสนอชื่อบุคคลเพื่อพิจารณาเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการบริษัทล่วงหน้า สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 (คลิก)

การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการคณะกรรมการบริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญและปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับกรรมการบริษัทจดทะเบียน (Code of best practices) ตามแนวทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรรมการบริษัท ร่วมกันกำหนดแนวทางการกำกับดูแลกิจการของบริษัท ซึ่งสรุปได้ดังนี้

 

นโยบายการกำกับดูแลกิจการ

คณะกรรมการของบริษัทคำนึงถึงความสำคัญของนโยบายเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดีโดยกำหนดเป็นนโยบาย เน้นในเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินกิจการสามารถตรวจสอบได้ จะมีการเปิดเผยข้อมูลให้กับสาธารณะและ      ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญต่อระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ส่วนการบริหารความเสี่ยงบริษัทพยายามควบคุมและบริหารความเสี่ยงอย่างใกล้ชิด และยังคำนึงถึงเรื่องจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ โดยดำรงไว้ซึ่งความเป็นธรรมต่อคู่ค้า ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียทุกๆ กลุ่ม ดังรายละเอียดต่อไปนี้

 

                คณะกรรมการชุดย่อย

 

    โครงสร้างคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัทประกอบด้วย กรรมการที่เป็นผู้บริหาร 2 ท่าน กรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหาร 6 ท่าน ซึ่งคณะกรรมการและผู้บริหารบริษัทฯได้แบ่งแยกอำนาจหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ 4 ท่าน รวมเป็น 12 ท่าน (ตามรายชื่อในโครงสร้างการจัดการ) ซึ่งกรรมการที่เป็นผู้บริหารของบริษัทเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในธุรกิจมาอย่างยาวนาน จากบริษัทแม่ที่ประเทศสาธารณรัฐจีนไต้หวัน สำหรับกรรมการตรวจสอบอีก 4 ท่าน ก็มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น และตั้งข้อสังเกต กรณีที่ความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบแตกต่างไปจากความเห็นของคณะกรรมการ เพื่อเป็นการถ่วงดุลกรรมการบริหาร อีกทั้งหนึ่งในสี่ของกรรมการตรวจสอบเป็นผู้มีความรู้ความสามารถความเชี่ยวชาญในด้านการบัญชีเพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานงบการเงิน

 

(1) คณะกรรมการตรวจสอบ

บริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบโดยมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี                             ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ประกอบด้วยกรรมการที่เป็นอิสระทั้ง 4 ท่านดังนี้

นาย เซียว จิ่น หลง                                 ประธานกรรมการตรวจสอบ

นาง เฉี่ยน เวน                                        กรรมการตรวจสอบ

นายมนต์สยาม สินวรพันธุ์                    กรรมการตรวจสอบ

นายหลิน เจิ้น ยง                                    กรรมการตรวจสอบ

                คณะกรรมการตรวจสอบมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีการประชุมและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทในเรื่องดังต่อไปนี้

-    สอบทานรายงานทางการเงินของบริษัทก่อนเสนอต่อคณะกรรมการ

-    ประสานงานกับฝ่ายตรวจสอบภายในของบริษัทการรายงานผลการตรวจสอบการประเมินผลของ

     ระบบการควบคุมภายในบริษัท

-    พิจารณารายการระหว่างกัน

-    การบริหารความเสี่ยง

 

(2)  บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

คณะกรรมการบริษัท มีบทบาทสำคัญในการบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใสและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่สำคัญเช่น งบการเงินรายไตรมาส และงบประจำปี งบประมาณ  การทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ความเพียงพอของการควบคุมภายในเป็นต้น นอกจากนี้ คณะกรรมการยังให้ความสำคัญให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการบริหารความเสี่ยง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น

 

(3) ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์

คณะกรรมการของบริษัทมีส่วนร่วมในการให้ความเห็นชอบต่อวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ภารกิจ และงบประมาณของบริษัท นอกจากนี้ยังกำกับดูแลให้ผู้บริหาร ดำเนินงานตามนโยบายที่กำหนดไว้ ด้วยความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์สุจริตตามแผนงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนั้นคณะกรรมการยังให้ความสำคัญกับระบบควบคุมภายใน และตรวจสอบภายใน ให้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลตลอดจนการบริหารความเสี่ยงโดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น

 

(4) จริยธรรมธุรกิจ

คณะกรรมการและผู้บริหารของบริษัทได้ กําหนดให้มีจริยธรรมทางธุรกิจของบริษัท โดยให้ทั้งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับของบริษัทมีการดําเนินงานอย่างถูกต้อง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตามหลักจริยธรรม เคารพสิทธิและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ถือหุ้นและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และตรวจสอบได้ เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมขององค์กรในด้านจริยธรรมธุรกิจให้บริษัทเจริญก้าวหน้า      มีความมั่นคงเป็นที่เชื่อถือ และยอมรับของบุคคลทั่วไป

 

(5) ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

บริษัทฯ มีนโยบายให้ความสำคัญในการจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบและโปร่งใส โดยนำเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการของบริษัทเพื่อพิจารณา โดยผู้มีส่วนได้เสียจะงดออกเสียงเพื่อความเป็นธรรมและเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของบริษัท บริษัทจะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดเผยข้อมูลอย่างครบถ้วน มูลค่ารายการ คู่สัญญา นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผย   ไว้ในรายงานประจำปีอย่างชัดเจน

 

(6) ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน

บริษัทฯ มีหน่วยงานตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงาน และกิจกรรมทางการเงินที่สำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นไปตามระเบียบและวิธีปฏิบัติตามที่บริษัทกำหนด อีกทั้งมีหน่วยงานตรวจสอบภายใน ได้มีการพัฒนาการตรวจสอบภายในอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าระบบดังกล่าวมีประสิทธิภาพ และ     ประสิทธิผลที่ดี โดยทำการประเมินระบบการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ มีการทดสอบว่าระบบดังกล่าว          ได้มีการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งยังให้หน่วยงานที่ได้รับการตรวจสอบมีส่วนร่วมในการประเมินผล                     และข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขต่อไป  รวมทั้งยังมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยี        สารสนเทศให้มีความทันสมัย